- ประวัติความเป็นมา
ทะเบียนประวัติคอมพิวเตอร์ พนักงานส่วนตำบล ลูกจ้างประจำ และพนักงานจ้าง อบต.หนองช้างแล่น
18 กุมภาพันธ์ 2563

0


ท่านสามารถดาวน์โหลดเอกสารเกี่ยวกับ ทะเบียนประวัติคอมพิวเตอร์ พนักงานส่วนตำบล ลูกจ้างประจำ และพนักงานจ้าง อบต.หนองช้างแล่น ได้ที่นี่

เอกสารแนบ
ประวัติความเป็นมา
30 พฤศจิกายน 542

0


ประวัติความเป็นมา

ตามประวัติความเป็นมา โดยชาวบ้านได้เล่าต่อๆ กันมา บริเวณวัดศรีรัตนาราม (วัดหนองช้างแล่น)  

ในอดีตเป็นหนองน้ำใหญ่และเป็นหนองน้ำที่ช้างพากันมากินน้ำ เล่นน้ำเป็นประจำ ชาวบ้านเรียกหนองน้ำดังกล่าวว่า “หนองช้างเล่น” และในเวลาต่อมาชาวบ้านพูดและเรียกจนแปลงเป็น “หนองช้างแล่น” มีความหมายว่า “การ

ไม่หยุดอยู่กับที่จะต้องก้าวไปข้างหน้าตลอดเวลา” 

 

ที่ตั้ง

องค์การบริหารส่วนตำบลหนองช้างแล่น  ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอห้วยยอดและที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลหนองช้างแล่น ตั้งอยู่ เลขที่  56/1 หมู่ที่  3  ตำบลหนองช้างแล่น อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง   อยู่ห่างจาก อำเภอห้วยยอด ประมาณ  8 กิโลเมตร

 

เนื้อที่

องค์การบริหารส่วนตำบลหนองช้างแล่น มีพื้นที่ทั้งหมด  ประมาณ  46.48  ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ  29,050  ไร่

 

พื้นที่

พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ โดยเป็นที่ราบสูงทางตอนเหนือและลาดต่ำไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้

 

อาณาเขต

ทิศเหนือ            ติดต่อกับ เทศบาลตำบลห้วยนาง   องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ และองค์การบริหารส่วนตำบลควนเมา

ทิศใต้                ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว องค์การบริหารส่วนตำบลเขากอบ

ทิศตะวันออก     ติดต่อกับ เทศบาลตำบลท่างิ้ว

ทิศตะวันตก       ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลบางดี

 

จำนวนหมู่บ้าน

               ตำบลหนองช้างแล่น มี  12  หมู่บ้านโดย  นายกิตติพงษ์   เลิศประดับพร     เป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองช้างแล่น  มีครัวเรือน  จำนวน  2,861  ครัวเรือน  ประชากรชาย  4,233  คนประชากรหญิง 

4,345 คน  รวมทั้งสิ้น  8,578  คน

หมู่ที่  1  บ้านยางยวน            ชาย  403  คน  หญิง  417  คน  รวม  820 คน  265 ครัวเรือน

หมู่ที่  2  บ้านห้วยน้ำเย็น          ชาย  383  คน  หญิง  376  คน  รวม  759  คน  218 ครัวเรือน

หมู่ที่  3  บ้านห้วยโขง              ชาย  578  คน  หญิง  598  คน  รวม  1,176  คน  459  ครัวเรือน

หมู่ที่  4  บ้านควนเลียบ            ชาย  236  คน  หญิง  280  คน  รวม  516  คน  185  ครัวเรือน

หมู่ที่  5  บ้านหนองสองพี่น้อง     ชาย  351  คน  หญิง  366  คน  รวม  717  คน  262  ครัวเรือน

หมู่ที่  6  บ้านช่องเขา              ชาย  516  คน  หญิง  518  คน  รวม  1,034  คน  404  ครัวเรือน

หมู่ที่  7  บ้านหัวเขา                ชาย  190  คน  หญิง  183  คน  รวม  373 คน      112  ครัวเรือน

หมู่ที่  8  บ้านป่ายาง               ชาย  296  คน  หญิง  284  คน  รวม  580  คน     171  ครัวเรือน

หมู่ที่  9  บ้านควนยายม่อม        ชาย  284  คน  หญิง  260  คน  รวม  544  คน     160  ครัวเรือน

หมู่ที่ 10  บ้านต้นส้มหม้าว         ชาย  383  คน  หญิง  425  คน  รวม  808  คน     251  ครัวเรือน

หมู่ที่ 11  บ้านห้วยขี้แรด           ชาย  214  คน  หญิง  227  คน  รวม  441  คน     134  ครัวเรือน

หมู่ที่ 12  บ้านวังซุม                ชาย  399  คน  หญิง  411  คน  รวม  810  คน     240  ครัวเรือน

 (ข้อมูล  ณ  เดือน  มกราคม  2565)